วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การสร้างเครื่องมือการวิจัย

 การสร้างเครื่องมือการวิจัย

ความหมาย ความสำคัญ ของเครื่องมือการวิจัย

          ในการดำเนินงานวิจัย มีความจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ หาคำตอบ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนด เครื่องมือการวิจัย เป็นสิ่งสำคัญ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สิ่งที่ต้องการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีหลายประเภท แต่ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือการวิจัยแบบใด ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือต้องการได้ข้อมูลที่ตรงตามข้อเท็จจริง เพื่อทำให้ผลงานวิจัย เชื่อถือได้ และเกิดประโยชน์มากที่สุด
ประเภทของเครื่องมือการวิจัยที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่
  •  การใช้แบบสอบถาม 
  •  แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต 


การสร้างแบบสอบถาม แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยที่นิยมนำมาใช้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยเชิงปริมาณ เช่น
  • การวิจัยเชิงสำรวจ
  • การวิจัยเชิงอธิบาย เป็นต้น
          แบบสอบถามมีทั้งแบบสอบถามปลายปิด และแบบสอบถามปลายเปิด

แบบสอบถามปลายปิด            เป็นแบบสอบถามที่ระบุคำตอบไว้แล้ว ให้ผู้ตอบเลือกตอบ หรืออาจให้เติมคำหรือข้อความสั้นๆ เท่านั้น
ตัวอย่าง อาชีพของท่านคืออะไร

http://thai-teacher.freevar.com/images/check.jpg ครู
http://thai-teacher.freevar.com/images/check.jpg พยาบาล
http://thai-teacher.freevar.com/images/check.jpg ทหาร
http://thai-teacher.freevar.com/images/check.jpg เกษตรกร
http://thai-teacher.freevar.com/images/check.jpg อื่นๆ ระบุ ............................................... 


แบบสอบถามปลายเปิด  เป็นแบบสอบถามที่ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ แต่ให้ผู้ตอบได้เขียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
ตัวอย่าง แบบสอบถามปลายเปิด
  • นักศึกษานิยมไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่แหล่งการเรียนรู้ใด เพราะอะไร
 ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม 

  1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย และประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา แล้วยกร่างแบบสอบถาม
  2. นำไปให้ผู้มีความรู้ช่วยตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะ
  3. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
  4. นำไปทดลองใช้ก่อนเพื่อความเชื่อมั่นว่ากลุ่มตัวอย่าง ( กลุ่มเล็กๆไม่ต้องทุกคน ) เข้าใจคำถามและวิธีการตอบคำถาม แล้วนำผลการทดลอง มาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง ก่อนนำไปใช้จริง
  5. นำไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
การสร้างแบบสัมภาษณ์

  • การสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยทุกประเภท ทุกสาขา แต่ที่นิยมคือใช้กับการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • การสัมภาษณ์ เป็นการรวบรวมข้อมูลในลักษณะเผชิญหน้ากันระหว่างผู้สัมภาษณ์ และผู้ให้สัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์ เป็นผู้ซักถาม และผู้ให้สัมภาษณ์เป็นผู้ให้ข้อมูล หรือตอบคำถาม ของผู้สัมภาษณ์
  • แบบสัมภาษณ์มีทั้งแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง คือผู้สัมภาษณ์ใช้คำถามปลายเปิด เป็นคำถามกว้างๆ ปรับเปลี่ยนได้ ให้ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่ผู้สัมภาษณ์กำหนดประเด็นคำถาม หรือรายการคำถามเรียงลำดับไว้แล้วก่อนที่จะสัมภาษณ์ 
  • ตัวอย่างการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เช่น ครูสัมภาษณ์นักศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในการเรียนการสอน ครูจะตั้งคำถามอย่างไร ก็ได้ เพื่อให้นักศึกษา แสดงความคิดเห็น ต่อเรื่องที่ครูอยากรู้ 
  • ตัวอย่างการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เช่น คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์นักศึกษาที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ คณะกรรมการ อาจจะต้องเตรียม แบบสำภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง ไว้ล่วงหน้า โดยกำหนดรายการคำถามเพื่อการสัมภาษณ์ไว้ก่อน แต่อาจปรับเปลี่ยนคำพูดได้บ้างตามความเหมาะสม
การสร้างแบบสังเกต

  • แบบสังเกตเป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่ใช้ได้กับงานวิจัยทุกประเภท โดยเฉพาะงานวิจัยเชิงคุณภาพ งานวิจัยเชิงทดลอง
  • แบบสังเกตแบ่งเป็น แบบสังเกตที่ไม่มีโครงร่างการสังเกต ซึ่งเป็นแบบที่ไม่ได้กำหนดเหตุการณ์ พฤติกรรม หรือสถานการณ์ที่จะสังเกตไว้ชัดเจน และแบบสังเกตที่มีโครงร่างการสังเกต เป็นแบบที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วว่า จะสังเกตอะไร สังเกตอย่างไร เมื่อใด และจะบันทึกผลการสังเกตอย่างไร
  • ตัวอย่างแบบสังเกตที่ไม่มีโครงร่างการสังเกต เช่นการสังเกตพฤติกรรมในการพบกลุ่มของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศรช. วัดแจ้ง ผู้สังเกตก็จะบันทึกพฤติกรรมต่างๆของนักศึกษาตามที่เป็นจริง
  • ตัวอย่างแบบสังเกตที่มีโครงร่างการสังเกต เช่น แบบสังเกตพฤติกรรมในการพบกลุ่มของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศรช.
ที่มา : http://thai-teacher.freevar.com/section5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น