วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การถ่ายวิดิโอ ปรับแต่ง และอัปโหลดขึ้น Youtube

|เทคนิคการถ่ายคลิปวีดีโอและการบันทึกลงคอมพิวเตอร์|


โดยน้องจอย



1.
ถ่ายคลิปวิดีโอ


     -
เราสามารถใช้กล้องถ่ายวีดีโอแบบดิจิตอล หรือถ้าไม่มีก็อาจจะใช้กล้องถ่ายรูปดิจิตอลทั่วไปทดแทนได้ โดยปรับกล้องไปที่โหมดถ่ายวีดีโอ (อาจศึกษาจากคู่มือของกล้อง)

     -
การถ่ายวีดีโอนั้น ค่อนข้างจะยากกว่าการถ่ายภาพธรรมดาซักเล็กน้อย ซึ่งกล้องถ่ายรูปก็แค่เล็งกล้อง แล้วกดชัตเตอร์ได้เลย แต่การถ่ายวีดีโอนั้นก่อนอื่นเราต้องรู้วัตถุประสงค์ก่อน ว่าเราต้องการจะถ่ายอะไร เช่น ถ่ายความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อโปรโมท หรือถ่ายบรรยากาศในงานเลี้ยงวันเกิดเพื่อเก็บไว้ดูในหมู่เพื่อนฝูง หรือถ่ายวีดีโอการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อการค้า เป็นต้น แล้วให้ให้ดีอาจจะมีการวางแผนล่วงหน้าว่าเราจะให้เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างไรด้วยก็ได้

-
สำหรับการถ่ายวิดีโอด้วยกล้องดิจิตอลนั้น การใช้งานโดยทั่วๆ ไป จะกดปุ่มชัตเตอร์ 1 ครั้งเพื่อบันทึก  โดยสามารถกดครึ่งก่อนเพื่อหาระยะโฟกัสได้เหมือนการถ่ายรูปปรกติ จากนั้นพยายามถือกล้องให้มือนิ่งที่สุดหรืออาจใช้ขาตั้ง  หรือวางบนโต๊ะเก้าอื้ช่วยให้นิ่ง  เพื่อให้คนดู ดูแล้วภาพไม่สั่น ไม่เวียนหัว ซึ่งเป็นสิ่งที่คัญมาก และเราอาจจะพูดสดเพื่ออัดเสียงลงไปเลยในขั้นตอนนี้ก็ได้   จากนั้นกดปุ่มชัตเตอร์ซ้ำอีกครั้งเมื่อต้องการหยุดบันทึก


2.
ดาวน์โหลดลงคอมพิวเตอร์

     ต่อสาย USB ของวีดีโอเข้ากับคอมพิวเตอร์ หรือใช้อุปกรณ์ Card Reader ดาวน์โหลดไฟล์จากกล้องวีดีโอมาลงเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนการโหลดภาพถ่ายลงเครื่องคอมพิวเตอร์ตามปรกติ




3.
ทดลองเปิดไฟล์

     -
โดยการดับเบิลคลิกดูว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถเล่นไฟล์วีดีโอชนิดที่กล้องเราถ่ายมาได้หรือไม่
     -
ถ้าไม่ได้ จะต้องหาโปรแกรมที่อ่านไฟล์ได้หลายชนิดมาช่วย เช่น โปรแกรม K-Lite Codec Pack ซึ่งเป็น Freeware Download ได้ที่นี่
 http://www.free-codecs.com/download/K_lite_codec_pack.htm


| ตัดต่อและปรับแต่งคลิปวีดีโอด้วย Ulead VideoStudio11 |


โดย น้องจอย

     โปรแกรม Ulead VideoStudio11 มีคุณสมบัติเด่นๆ คือ สามารถตัดต่อ ใส่ภาพเพิ่ม ใส่ตัวอักษร ใส่ลายน้ำ เพิ่มเสียง ใส่เอ็ฟเฟ็ค และแปลงไฟล์ให้มีขนาดเล็กลงได้ โดยมีการใช้งานที่เรียกได้ว่าหมูมากๆ ไม่ซับซ้อนเหมือนโปรแกรมระดับมืออาชีพ โดยเราสามารถเลือกใช้งานเฉพาะบางขั้นตอนโดยข้ามบางขั้นตอนที่ไม่จำเป็นสำหรับงานของเราไปก็ได้


ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมตัดต่อคลิปวีดีโอ Ulead Video Studio 11 หลังติดตั้งโปรแกรมแล้ว มีดังนี้


1.
คลิกเปิดโปรแกรม แล้วเลือก VideoStudio Editor อันบนสุด แล้วรอโหลดโปรแกรม

2.
คลิก Capture ที่เมนูบาร์ด้านบน

      -
แด็กเมาท์เอาไฟล์วีดีโอวัตถุดิบที่เราถ่ายเก็บไว้ในเครื่อง ลากมาวางที่ด้านขวาของจอดำที่พรีวิวภาพ
      -
ถ้ามีหลายไฟล์ก็ลากเอามาวางไว้ให้หมด (ได้ทั้งไฟล์วีดีโอ ไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง หรือแม้แต่ Flash Animation)
      -
หรืออาจคลิกที่รูปกระเป๋าโฟลเดอร์ ใต้เมนู Title เพิ่มนำเข้าไฟล์วัตถุดิบต่างๆ ก็ได้
      -
คลิกที่ภาพย่อของไฟล์วีดีโอ ตอนนี้จะสามารถกดปุ่ม play ทดลองเล่นคลิปวัตถุดิบได้แล้ว




3.
คลิกปุ่ม Edit ที่เมนูบาร์ด้านบน

      -
คลิกลากไฟล์วีดีโอต่างๆ ที่นำเข้ามาแล้ว มาวางที่แถบฟิล์มด้านล่าง
      -
หน้านี้เราสามารถตัดต่อ Crop ตัดช่วงที่ไม่ต้องการออก โดยคลิกปุ่ม play แล้วกำหนดช่วงที่เรื่มตัดที่ปุ่มรูป [
และกำหนดช่วงสิ้นสุดการตัด ด้วยปุ่มรูป ] ซึ่งอยู่ที่ด้านล่างจอภาพทางขวามือ
(
ในรูปคืออยู่เยื้องมาทางขวาล่างของขาช้างของเล่น)
      -
ต่อคลิปหลายๆ คลิปเข้าด้วยกัน โดยเอามาวางเรียงกันไปเรื่อยๆ ที่ลากมาวางที่แถบฟิล์มด้านล่างของจอ


4.
คลิก Effect ที่เมนูบาร์ด้านบน
      -
คลิกลากเอฟเฟ็คมาใส่ระหว่างคลิป หรือระหว่างไฟล์ภาพที่นำมาใช่ประกอบกันเป็นวีดีโอ



5.
คลิก Overlay ที่เมนูบาร์ด้านบน
      -
กำหนดตำแหน่งการจัดวางตาม Time line ให้ถูกต้องแม่นยำ โดยในขั้นตอนนี้ เราสามารถทำให้คลิปสั้นลง หรือยาวขึ้น โดยลากความยาวของแต่ละคลิปเข้าออกได้ด้วย


6.
คลิก Title ที่เมนูบาร์ด้านบน
      -
ใส่ข้อความก่อนหรือหลังจากเล่นวีดีโอ โดยดับเบิ้ลคลิกที่จอพรีวิว
      -
สามารถเลือกลูกแบบและสีสันตัวอักษรได้ โดยคลิกรูปแบบข้างจอพรีวิว และยังเปลี่ยนฟอนต์และขนาด สี ตัวอักษรได้ด้วย
      -
อาจใส่เป็นตัวอักษรเพื่อเป็น WaterMark ในวีดีโอ โดยกำหนดให้ความยาวของการแสดงผลบน Timeline ยาวตั้งแต่ต้นจนจบ


7.
คลิก Audio ที่เมนูบาร์ด้านบน
      -
ใส่เสียงที่บันทึกไว้แล้ว หรืออัดเสียงสดโดยใช้ไมโคนโฟนที่ต่อกับคอม
      -
สามารถกำหนดเพื่อให้เสียงเฟสขึ้นเฟสลงตอนต้นและตอนปลายของคลิปวีดีโอได้ที่หน้านี้

8.
คลิก Share ที่เมนูบาร์ด้านบน
      -
สำหรับการนำไฟล์คลิปวีดีโอไปใช้บนเว็บ เราคงต้องการไฟล์ขนาดเล็กเพื่อให้อัพโหลดได้รวดเร็ว แต่ไม่สูญเสียรายละเอียดความคมชัดมากนัก
ดังนั้น ควรเลือกชนิดไฟล์แปลงออกมาตามนี้ Create Video File > MPEG-4 > iPod MPEG-4 (640X480) > ตั้งชื่อไฟล์คลิป.mp4 > Save


   
   - รอโปรแกรมรันไฟล์เอง และเมื่อรันเสร็จโปรแกรมจะแสดงผลให้เราดูทันที
      -
ได้ไฟล์คลิปวีดีโอเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่เลือกไว้ตอน Save ตามต้องการ



|วิธีอัพโหลดคลิปวีดีโอขึ้นเว็บไซต์ Youtube|

โดยน้องจอย



1. การอัพโหลดวีดีโอขึ้นไปบน Youtube นั้น ก่อนอื่นจะต้องสมัครเป็นสมาชิกกับเว็บไซต์ของ Youtube ก่อนค่ะ คลิกไปที่ http://www.youtube.com/create_account แล้วกรอกข้อมูลเพื่อสมัคร


2. เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่มสีเหลือง Upload ที่อยู่บริเวณมุมบนขวาของหน้าจอ เพื่อเริ่มอัพโหลดได้เลย
 upload-video-on-youtube

3. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับคลิปวีดีโอ เช่น ชื่อ รายละเอียด คำค้น หมวดหมู่วีดีโอ และรูปแบบการเผยแพร่ว่าต้องการเผยแพร่ต่อสาธารณะชน หรือเก็บไว้ดูเป็นการส่วนตัว

upload-video-on-youtube 

สุดท้าย เมื่อกรอกข้อมูลรายละเอียดทุกอย่างแล้ว ก็คลิก  Save Changes เพื่อให้ Youtube จัดเก็บวีดีโอของเราเข้าระบบเลยจ้า

youtube how to 


4. เลื่อนเมาส์มาวางที่ชื่อ account ของเราที่มุมบนขวา เลื่อนมาคลิกที่ My Videos เพื่อแสดงวีดีโอทั้งหมดของเรา


upload-video-on-youtube 
ในขั้นตอนนี้ ถ้าเราเปลี่ยนใจ ไม่อยากให้วีดีโอถูกแสดงบน Youtube ก็สามารถลบทิ้งได้ โดยคลิกที่ปุ่ม Delete ที่ด้านขวาล่างของแต่ละคลิปวีดีโอ


5. แต่ถ้าพอใจแล้ว คลิก play เพื่อรับชมผลการแสดงวีดีโอของเราบน Youtube

upload-video-on-youtube 

6. เราสามารถเอาลิงค์ไปโปรโมท ส่งอีเมล์เรียกเพื่อนๆ มาดูก็ได้ หรือจะเอาคลิปมาวางที่เว็บไซต์หรือ Blog ส่วนตัว ก็สามารถคัดลอกโค้ดมาจากด้านข้างของจอวีดีโอ และเลือกสีของแท็บเล่นวีดีโอ รวมทั้งขนาดหน้าต่างได้ด้วย

upload-video-on-youtube

ที่มา : http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=440:edit-with-ulead-videostudio11-&catid=69:experience-tourism-logistics&Itemid=85
          http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=439:capture-upload-your-video-on-youtube&catid=69:experience-tourism-logistics&Itemid=85
          http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=441:how-to-upload-video-on-youtube&catid=69:experience-tourism-logistics&Itemid=85

การเป็นพ่อแม่ของเด็กวัยรุ่น

| การเป็นพ่อแม่ของเด็กวัยรุ่น |

ดร. สมใจ รักษาศรี (ผู้อำนวยการสถาบันครอบครัวไทย)

          พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่นทุกคนคงมีประสบการณ์คล้าย ๆ กันว่าทำไมลูกที่เคยเป็นเด็กน่ารัก ว่านอนสอนง่าย กลับกลายเป็นเด็กที่ดูจะไม่ค่อยเชื่อฟังพ่อแม่ แถมยังมีพฤติกรรมหลายอย่างที่ทำให้พ่อแม่ถึงกับเก็บอารมณ์ไม่อยู่
          สาเหตุหลักก็คือการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นกับลูกวัยรุ่นของคุณ เพราะวัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติของเขา แต่เมื่อผนวกกับสภาพสังคมที่กำลังเป็นอยู่ จึงทำให้ลูกที่ “เคยน่ารัก” กลายเป็นเด็กที่ทำให้คุณปวดเศียรเวียนเกล้าอยู่ในขณะนี้

           มีหลายเรื่องที่พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่นต้องรู้ แต่ในบทความนี้ผมอยากจะพูดถึงการปกครองดูแลเด็กวัยรุ่น ซึ่งต้องทำดังนี้

  1. ปกครองด้วยเหตุผล ชี้แจงให้ลูกวัยรุ่นเข้าใจอย่างถูกต้อง เมื่อเขาทำผิดถึงขั้นที่ต้องลงโทษควรชี้แจงเหตุผลให้เขาเข้าใจ เป็นการช่วยฝึกให้เด็กเป็นคนรักเหตุผลด้วย
  2. ปกครองด้วยความละมุนละม่อม ไม่ดุด่าอย่างเสีย ๆ หาย ๆ ตามอารมณ์ขุ่นเคืองของพ่อแม่ ไม่ทำให้ลูกอับอายขายหน้า (ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ๆ) เพราะเด็กวัยนี้กระเทือนใจง่าย
  3. ปกครองด้วยตัวอย่างที่ดีและด้วยความเสมอภาค พ่อแม่ควรทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีกับลูกวัยรุ่น เพื่อให้เขาเกิดความนิยม นับถือ และปฏิบัติตาม
  4. เป็นผู้ให้คำแนะนำในการปรับตัว เนื่องจากเด็กวัยนี้มีความว้าวุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งทางร่าง กายและจิตใจ พ่อแม่จึงควรเป็นผู้แนะนำให้เด็กรู้จักปรับตัวและตัดสินใจถูกต้อง สอนให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกายเพื่อคลายความวิตกกังวล
  5. ส่งเสริมให้เด็กรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ให้โอกาสเด็กได้กระทำกิจกรรมต่างๆให้เด็กได้พยายามคิดและรู้จุดมุ่งหมายของ งานด้วยตนเอง อย่าสั่งเด็กทุกอย่างไป
  6. การเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายอย่างที่บางคนเข้าใจ ข้อพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิภาพนั้นก็คือ การที่บุตรชายหญิงมีอารมณ์มั่นคง มีความคิดสร้างสรรค์ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น เด็กที่เกเร โดยมากมาจากครอบครัวที่ พ่อแม่ไม่ได้อบรมเลี้ยงดูบุตรอย่างใกล้ชิด
 ที่มา : http://www.thisisfamily.org/

การสร้างเครื่องมือการวิจัย

 การสร้างเครื่องมือการวิจัย

ความหมาย ความสำคัญ ของเครื่องมือการวิจัย

          ในการดำเนินงานวิจัย มีความจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ หาคำตอบ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนด เครื่องมือการวิจัย เป็นสิ่งสำคัญ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สิ่งที่ต้องการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีหลายประเภท แต่ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือการวิจัยแบบใด ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือต้องการได้ข้อมูลที่ตรงตามข้อเท็จจริง เพื่อทำให้ผลงานวิจัย เชื่อถือได้ และเกิดประโยชน์มากที่สุด
ประเภทของเครื่องมือการวิจัยที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่
  •  การใช้แบบสอบถาม 
  •  แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต 


การสร้างแบบสอบถาม แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยที่นิยมนำมาใช้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยเชิงปริมาณ เช่น
  • การวิจัยเชิงสำรวจ
  • การวิจัยเชิงอธิบาย เป็นต้น
          แบบสอบถามมีทั้งแบบสอบถามปลายปิด และแบบสอบถามปลายเปิด

แบบสอบถามปลายปิด            เป็นแบบสอบถามที่ระบุคำตอบไว้แล้ว ให้ผู้ตอบเลือกตอบ หรืออาจให้เติมคำหรือข้อความสั้นๆ เท่านั้น
ตัวอย่าง อาชีพของท่านคืออะไร

http://thai-teacher.freevar.com/images/check.jpg ครู
http://thai-teacher.freevar.com/images/check.jpg พยาบาล
http://thai-teacher.freevar.com/images/check.jpg ทหาร
http://thai-teacher.freevar.com/images/check.jpg เกษตรกร
http://thai-teacher.freevar.com/images/check.jpg อื่นๆ ระบุ ............................................... 


แบบสอบถามปลายเปิด  เป็นแบบสอบถามที่ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ แต่ให้ผู้ตอบได้เขียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
ตัวอย่าง แบบสอบถามปลายเปิด
  • นักศึกษานิยมไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่แหล่งการเรียนรู้ใด เพราะอะไร
 ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม 

  1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย และประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา แล้วยกร่างแบบสอบถาม
  2. นำไปให้ผู้มีความรู้ช่วยตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะ
  3. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
  4. นำไปทดลองใช้ก่อนเพื่อความเชื่อมั่นว่ากลุ่มตัวอย่าง ( กลุ่มเล็กๆไม่ต้องทุกคน ) เข้าใจคำถามและวิธีการตอบคำถาม แล้วนำผลการทดลอง มาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง ก่อนนำไปใช้จริง
  5. นำไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
การสร้างแบบสัมภาษณ์

  • การสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยทุกประเภท ทุกสาขา แต่ที่นิยมคือใช้กับการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • การสัมภาษณ์ เป็นการรวบรวมข้อมูลในลักษณะเผชิญหน้ากันระหว่างผู้สัมภาษณ์ และผู้ให้สัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์ เป็นผู้ซักถาม และผู้ให้สัมภาษณ์เป็นผู้ให้ข้อมูล หรือตอบคำถาม ของผู้สัมภาษณ์
  • แบบสัมภาษณ์มีทั้งแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง คือผู้สัมภาษณ์ใช้คำถามปลายเปิด เป็นคำถามกว้างๆ ปรับเปลี่ยนได้ ให้ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่ผู้สัมภาษณ์กำหนดประเด็นคำถาม หรือรายการคำถามเรียงลำดับไว้แล้วก่อนที่จะสัมภาษณ์ 
  • ตัวอย่างการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เช่น ครูสัมภาษณ์นักศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในการเรียนการสอน ครูจะตั้งคำถามอย่างไร ก็ได้ เพื่อให้นักศึกษา แสดงความคิดเห็น ต่อเรื่องที่ครูอยากรู้ 
  • ตัวอย่างการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เช่น คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์นักศึกษาที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ คณะกรรมการ อาจจะต้องเตรียม แบบสำภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง ไว้ล่วงหน้า โดยกำหนดรายการคำถามเพื่อการสัมภาษณ์ไว้ก่อน แต่อาจปรับเปลี่ยนคำพูดได้บ้างตามความเหมาะสม
การสร้างแบบสังเกต

  • แบบสังเกตเป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่ใช้ได้กับงานวิจัยทุกประเภท โดยเฉพาะงานวิจัยเชิงคุณภาพ งานวิจัยเชิงทดลอง
  • แบบสังเกตแบ่งเป็น แบบสังเกตที่ไม่มีโครงร่างการสังเกต ซึ่งเป็นแบบที่ไม่ได้กำหนดเหตุการณ์ พฤติกรรม หรือสถานการณ์ที่จะสังเกตไว้ชัดเจน และแบบสังเกตที่มีโครงร่างการสังเกต เป็นแบบที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วว่า จะสังเกตอะไร สังเกตอย่างไร เมื่อใด และจะบันทึกผลการสังเกตอย่างไร
  • ตัวอย่างแบบสังเกตที่ไม่มีโครงร่างการสังเกต เช่นการสังเกตพฤติกรรมในการพบกลุ่มของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศรช. วัดแจ้ง ผู้สังเกตก็จะบันทึกพฤติกรรมต่างๆของนักศึกษาตามที่เป็นจริง
  • ตัวอย่างแบบสังเกตที่มีโครงร่างการสังเกต เช่น แบบสังเกตพฤติกรรมในการพบกลุ่มของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศรช.
ที่มา : http://thai-teacher.freevar.com/section5.html

การเลี้ยงลูกวัยรุ่น – พ่อแม่ที่วัยรุ่นอยากได้







| วัยรุ่นต้องการพ่อแม่ที่ให้อิสระและเปิดใจกว้างยอมรับ |

โดย… ดร. สมใจ รักษาศรี

(หมายเหตุ:  บทความนี้สรุปจากหนังสือ “เลี้ยงลูกวัยรุ่น”)

ความจำเป็นที่จะต้องให้อิสระและเปิดใจกว้างยอมรับ

          เพราะมีการเปลี่ยนแปลงมากมายหลายอย่างเกิดขึ้นกับลูกวัยรุ่น ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ความรู้สึก ส่งผลให้หลายสิ่งหลายอย่างในตัวลูกเปลี่ยนไป บางทีจากเด็กที่น่ารักกลายเป็นวัยรุ่นที่ไม่ค่อยน่ารัก บางทีจากเด็กเรียบร้อยกลายเป็นวัยรุ่นที่ไม่มีระเบียบเรียบร้อยเอาเสียเลย หรือบางทีจากเด็กที่พูดเก่งกลายเป็นวัยรุ่นที่เงียบขรึม เป็นต้น

          การเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ เพื่อเตรียมคน ๆ นั้นสู่วัยผู้ใหญ่ การตอบสนองของพ่อแม่จะมีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้  หากพ่อแม่ตอบสนองด้วยการ “ขัดขวาง” และไม่ยอมรับ ผลลัพธ์ก็คือการต่อสู้และการขัดขืน  ซึ่งอาจลงเอยด้วยความสัมพันธ์ที่แตกร้าว การตอบสนองในทางตรงกันข้าม คือ เปิดใจกว้างและยอมรับกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอย่างมีศิลปะจะให้ผลดีกว่า พ่อแม่จึงต้องเรียนรู้ว่าจะเปิดใจกว้างยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นนี้อย่างไร

ประการแรกทำความเข้าใจพัฒนาการของลูก

          เมื่อพ่อแม่เข้าใจว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับลูกวัยรุ่นนั้นเป็นผลมาจากพัฒนาการทางร่างกาย ความคิด จิตใจ และอารมณ์ของเขา (เช่น อารมณ์แปรปรวนขึ้น ๆ ลง ๆ การเก็บเนื้อเก็บตัวไม่ค่อยพูดค่อยจา ท่าทียโส ดื้อรั้น ลองดี และเถียงคำไม่ตกฟาก) การยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของลูกก็จะง่ายขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งที่พ่อแม่ต้องทำในตอนนี้คือ ควบคุมอารมณ์ ให้อภัย ให้โอกาส และคอยช่วยเหลือลูกวัยรุ่นในการปรับตัวเพื่อให้เขาสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตินี้ไปให้ได้   โดยคิดถึงวันข้างหน้า วันที่ลูกได้ก้าวพ้นช่วงแห่งความอลหม่านนี้แล้วและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มั่นคง



ประการที่สองยืดหยุ่นในเรื่องที่สามารถยืดหยุ่นได้

การเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นกับลูกวัยรุ่นทำให้หลาย ๆ เรื่องในชีวิตของเขาเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น

          - การแต่งกาย  จะแต่งกายตามกระแสนิยมของวัยรุ่นในขณะนั้น นอกจากนั้นยังชื่นชอบสิ่งของหรือเครื่องประดับที่วัยรุ่นทั่วไปกำลังนิยมกัน
เพลงและดนตรี  จะฟังเพลงที่วัยรุ่นกำลังนิยมกัน  มีนักร้องที่เป็นขวัญใจ และอาจจะเลียนแบบการแต่งตัวของนักร้องคนโปรด
          - การคบเพื่อน  ใช้เวลากับเพื่อนมากขึ้น ให้ความสำคัญกับเพื่อน บางครั้งรวมกลุ่มกันไปเที่ยว
การคบเพื่อนต่างเพศ  เริ่มมีความชอบพอกับเพศตรงข้าม ซึ่งอาจจะทำให้มีการแอบนัดพบกัน คุยกันบ่อยและนาน
          - การเป็นตัวของตัวเองและการเชื่อมั่นในตัวเอง ทำให้ไม่ค่อยอยากเพิ่งพ่อแม่ อยากตัดสินใจด้วยตัวเอง และมักไม่ต้องการคำแนะนำ 
          - คึกคะนอง ชอบลอง ชอบความเสี่ยงและความท้าทาย 
          - ชื่นชอบความทันสมัย ทำให้เด็กวัยรุ่นอยากมีอุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัย ฯลฯ
  

          นี่เป็นเพียงตัวอย่างของสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในชีวิตของวัยรุ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเป็นเมื่อเขายังอยู่ในวัยเด็ก พ่อแม่จึงจำเป็นต้องยืดหยุ่นบ้างตามสมควร หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสิ่งใดควรยืดหยุ่นและยืดหยุ่นได้แค่ไหน คือ

- เรื่องที่ยืดหยุ่นนั้นจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อลูก
- เรื่องที่ยืดหยุ่นนั้นต้องไม่กระทบต่อการเรียน
- เรื่องที่ยืดหยุ่นนั้นต้องไม่ผิดกฎหมายและกฎระเบียบของสังคม
- เรื่องที่ยืดหยุ่นนั้นต้องไม่ผิดศีลธรรมหรือหลักคำสอนของพระคริสตธรรมคัมภีร์
- ต้องแยกให้ชัดเจนระหว่างเรื่องที่ “ต่อรองไม่ได้” กับ เรื่องที่ “ต่อรองได้”

          ส่วนเรื่องที่สามารถยืดหยุ่นได้นั้นจะยืดหยุ่นได้มากน้อยแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละครอบครัวและข้อตกลงร่วมกันระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยรุ่น  ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว บางทีสิ่งที่ครอบครัวหนึ่งยืดหยุ่น แต่อีกครอบครัวหนึ่งอาจจะไม่ยืดหยุ่นขนาดนั้นก็ได้



ประการที่สามให้อิสระในขอบเขตที่เหมาะสม

           การให้อิสระไม่ใช่การตามใจ มันเป็นคนละเรื่องกัน แม้ว่าวัยรุ่นต้องการอิสระ แต่ก็ต้องมีขอบเขต ไม่ใช่ตามใจไปเสียทุกอย่าง เพราะการไม่ห้ามปรามลูกเสียเลยก็เท่ากับส่งเสริมให้เขาเสียคน ไม่มีความสามารถที่จะเผชิญกับสภาพที่เป็นจริงในภายหลังได้ เด็กประเภทนี้พอโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ก็คาดหวังให้โลกประเคนทุกสิ่งให้

          วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการความเป็นอิสระ วัยนี้จึงไม่ค่อยชอบกฎเกณฑ์และการบังคับ ไม่ชอบการตรวจสอบและการจ้ำจี้จ้ำไชจากผู้ใหญ่ ไม่ชอบให้ผู้ใหญ่เข้ามาก้าวก่ายในชีวิตของตน  เขาอยากเป็นตัวของตัวเอง คิดเอง ตัดสินใจเอง เพราะคิดว่าตัวเองโตแล้ว แต่เราที่เป็นพ่อแม่ย่อมรู้ดีว่าถึงแม้เขาจะโตขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นผู้ใหญ่พอที่จะสามารถรับผิดชอบชีวิตของตัวเองได้อย่างดีโดยปราศจากการชี้นำและการช่วยเหลือของพ่อแม่

          ประเด็นก็คือ พ่อแม่คิดอย่าง ลูกวัยรุ่นก็คิดอีกอย่าง จึงเป็นเหตุให้ไม่เข้าใจกันและเกิดปัญหาความสัมพันธ์ขึ้น ดังนั้นในฐานะพ่อแม่ เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะให้อิสระกับลูกเพื่อฝึกฝนและเตรียมเขาสำหรับการเป็นผู้ใหญ่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่การให้อิสระโดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องเลยย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ดี จึงต้องมีศิลปะในการให้อิสระในขอบเขตที่เหมาะสม ซึ่งทำได้โดย

          ประการแรก กำหนดขอบเขตของแต่ละเรื่องร่วมกันกับลูกวัยรุ่น และตราบใดที่ลูกยังอยู่ในขอบเขตนั้นเขาก็มีอิสระอย่างเต็มที่ พ่อแม่จะไม่เข้าไปก้าวก่าย เว้นแต่ลูกต้องการคำแนะนำหรือการช่วยเหลือ ยกตัวอย่างเช่น ขอบเขตของการเรียนคือ ตั้งใจเรียนเต็มที่ รับผิดชอบเรื่องรายงานและการบ้านอย่างเต็มที่ ตามศักยภาพของลูกเกรดเฉลี่ยต้องไม่ต่ำกว่า 3.0 การเรียนพิเศษนั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็น  ลูกเป็นคนตัดสินใจ ลูกรายงานให้พ่อแม่ทราบเป็นระยะ ๆ ว่าการเรียนและผลการเรียนเป็นอย่างไร มีอะไรที่พ่อแม่ต้องช่วยเหลือหรือไม่ เป็นต้น ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่กำหนดไว้ พ่อแม่ก็ไม่ต้องถามว่าทำการบ้านทำรายงานหรือยัง ไม่ต้องคอยบ่นในเรื่องที่ลูกเอาแต่ฟังเพลงหรือเล่นเน็ต แต่หากไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ พ่อแม่ก็จำเป็นต้องเข้ามาจัดการ เพราะไม่เช่นนั้นอิสระที่ลูกต้องการจะกลายเป็นผลเสียต่อลูก

          พ่อแม่อาจจะถามว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่ต้องกำหนดขอบเขตในเรื่องความมีอิสระ คำตอบก็คือทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับลูก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน ความรับผิดชอบ และลักษณะนิสัย เป็นต้น

          ประการที่สอง ใช้แนวทางประชาธิปไตยในบ้าน คือ ทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็น เสนอความคิด และสามารถเห็นขัดแย้งได้ด้วย แต่ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลและสุภาพ และเคารพความเห็นของผู้อื่น การให้ลูกมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นเปิดโอกาสให้ลูกได้รับรู้ว่าอะไรคือเหตุผลของข้อห้ามหรือข้อจำกัดที่มีอยู่ ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ห้ามไม่ให้ไปบ้านของเพื่อนผู้หญิงในขณะที่พ่อแม่ของเขาไม่อยู่ เพราะกลัวว่าฝ่ายหญิงจะเสียหาย หรืออาจจะเกิดการทดลองทำให้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้นได้ ถ้าไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและอภิปราย ลูกก็จะไม่มีทางรู้ว่าอะไรคือเหตุผลที่พ่อแม่ไม่อนุญาต

ผลดีอีกประการหนึ่งของการใช้วิธีทางประชาธิปไตยในบ้านคือ เป็นการฝึกให้ลูกยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ไม่ใช่เอาแต่ความต้องการของตนเองฝ่ายเดียว และหากจะมีการโต้แย้งก็ต้องมีเหตุผลประกอบ ไม่ใช่เอาอารมณ์ความรู้สึกเป็นใหญ่

          ประการที่สาม บอกให้ลูกรู้อย่างชัดเจนว่าพ่อแม่คาดหวังความประพฤติอย่างไรจากลูก การต้องการให้ลูกดีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ลูกต้องรู้ด้วยว่าพ่อแม่คาดหวังอะไรจากเขา และพ่อแม่ต้องการให้เขาทำอะไรและทำอย่างไร บางครั้งแม่อาจจะบอกลูกว่าต้องจัดห้องนอนส่วนตัวของตัวเองให้เรียบร้อย แต่ไม่ได้อธิบายว่าคำว่า “เรียบร้อย” ของแม่หมายความว่าอย่างไร เขาจึงทำไปตามที่เขาคิดว่าถูกแล้ว  แต่กลับถูกตำหนิว่าไม่เรียบร้อย เพราะคำว่าเรียบร้อยในความหมายของแม่กับของลูกเป็นคนละความหมายกัน ดังนั้นพ่อแม่จึงจำเป็นต้องสื่อสารอย่าง “ชัดเจน” ว่าต้องการให้ลูกทำอะไรและทำอย่างไร

          การสื่อสารให้ลูกรู้อย่างชัดเจนว่าพ่อแม่คาดหวังอย่างไรไม่เพียงแต่ช่วยให้ลูกวัยรุ่นรู้ว่าจะปฏิบัติในเรื่องนั้น ๆ อย่างไร แต่มันยังเป็นการสื่อสารให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่เชื่อถือในตัวลูกและปฏิบัติกับลูกแบบผู้ใหญ่คนหนึ่ง คือ เชื่อมั่นว่าลูกจะทำอย่างที่ได้พูดจาตกลงกันไว้โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องไปคอยควบคุมหรือบังคับเหมือนเป็นเด็ก

          นอกจากนั้นแล้ว การทำแบบนี้ของพ่อแม่ยังเป็นการฝึกฝนความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสิ่งที่ลูกได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของคนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต

          ประการที่สี่ พ่อแม่จะไม่ควบคุมหรือบังคับแต่จะคอยชี้แนะ เพราะโดยธรรมชาติวัยรุ่นไม่ชอบการบังคับ แต่เขาก็ยังจำเป็นต้องมีคนที่คอยชี้แนะและกระตุ้นเตือน เพื่อเขาจะไม่พลาดในหน้าที่และความรับผิดชอบ อีกทั้งการชี้แนะยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเขาให้ทำสิ่งต่าง ๆ ที่พ่อแม่คาดหวังได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งก็ยิ่งทำให้ความไว้วางใจที่พ่อแม่มีต่อเขาเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ซึ่งก็จะยิ่งทำให้ขอบเขตของอิสระยิ่งกว้างขึ้น เพราะเขาได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นคนที่ไว้วางใจได้และมีความรับผิดชอบ



ประการที่สี่ให้สิทธิในการตัดสินใจในขอบเขตที่เหมาะสม

          วัยรุ่นมักคิดว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่แล้ว สามารถตัดสินใจเองได้แล้ว จึงอยากตัดสินใจและทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง  แต่พ่อแม่ก็มักมองว่าลูกยังเป็นเด็ก จึงอดเป็นห่วงลูกไม่ได้ จนบางครั้งกลายเป็นการปกป้องมากเกินไป คือ คิดให้ ตัดสินใจให้ และทำทุกอย่างแทนลูก จนลูกไม่ต้องกระดิกตัวทำอะไร ผมเคยได้ยินคุณแม่บางคนพูดกับลูกวัยรุ่นว่าหน้าที่ของลูกคือเรียนก็พอ ที่เหลือแม่จะเป็นคนจัดการ ดังนั้นทุกอย่างที่เกี่ยวกับลูกแม่จะเป็นคนคิดให้ทำให้ทั้งหมด แม้กระทั่งเสื้อผ้า อาหารการกิน และชีวิตประจำวัน

          จริงอยู่แม้ว่าการทำเช่นนั้นก็เกิดจากความรักและความห่วงใยที่พ่อแม่มีต่อลูก แต่มันไม่เป็นผลดีเลย  การไม่ยอมให้ลูกวัยรุ่นตัดสินใจไม่เพียงทำให้เขารู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ยอมรับในความเป็นผู้ใหญ่ของเขาเท่านั้น แต่มันยังเป็นผลเสียต่อการพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของลูกด้วย เพราะจะทำให้เขาไม่รู้จักคิด ตัดสินใจไม่เป็น ไม่รู้จักวิธีแก้ปัญหา และขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง

          ดังนั้นพ่อแม่ต้องส่งเสริมให้ลูกวัยรุ่นรู้จักคิดและตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในขอบเขตที่เหมาะสม และลงมือทำสิ่งนั้น ๆ ด้วยตัวเอง การทำเช่นนี้เป็นการฝึกฝนให้ลูกกล้าคิด กล้าแสดงออก และกล้าที่จะลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เขาจะกลายเป็นคนที่คิดเป็น เชื่อมั่นในตัวเอง รู้จักแก้ปัญหา และมีทักษะในการทำสิ่งต่าง ๆ แทนที่จะเป็นผู้ใหญ่ประเภทเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ

          ผมเน้นคำว่า “ขอบเขตที่เหมาะสม” หมายความว่าไม่ใช่ให้ลูกตัดสินใจเองทุกเรื่อง เพราะเขายังไม่พร้อมขนาดนั้น พ่อแม่จึงต้องกำหนดขอบเขตที่เหมาะสมกับลูกขึ้นมา เพราะวัยรุ่นแต่ละคนมีวุฒิภาวะไม่เท่ากัน

ขอบเขตในการตัดสินใจแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้

- ขอบเขตที่ลูกสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง จะปรึกษาพ่อแม่หรือไม่ก็ได้ เช่น การใช้จ่ายเงินที่ได้รับในแต่ละสัปดาห์ เป็นต้น
- ขอบเขตที่ต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ก่อนตัดสินใจ หมายความว่าลูกต้องพูดคุยกับพ่อแม่ก่อน เช่น การไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อน การไปค้างบ้านเพื่อน เป็นต้น
- ขอบเขตที่ลูกยังไม่มีสิทธิที่จะตัดสินใจในขณะนี้ เช่น การเลือกโรงเรียน การเลือกสาขาที่จะเรียน เป็นต้น

          วัยรุ่นที่รู้ว่าเขาสามารถตัดสินใจอะไรได้ด้วยตัวเอง อะไรที่ต้องได้รับอนุญาต และอะไรที่ยังไม่อยู่ในสิทธิการตัดสินใจของเขา จะใช้ชีวิตวัยรุ่นได้อย่างมีความสุข ในขณะที่กำลังพัฒนาตัวเองสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่มั่นคง

          สิ่งที่สำคัญคือพ่อแม่ต้องกล้าที่จะเชื่อมั่นในตัวลูก สอนเขาให้รู้จักคิด รู้จักตัดสินใจ และกล้าลงมือทำ พร้อมทั้งคอยให้คำแนะนำปรึกษา แล้วท่านจะได้เห็นว่าลูกจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้น รู้จักคิดมากขึ้น และตัดสินใจอย่างรอบคอบมากขึ้น พร้อม ๆ กับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ของเขา

          ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นประสบการณ์ตรงของผมและภรรยา เราทำแบบนั้นกับลูกสาวของเรา ผลก็คือ เราได้ลูกสาวที่คิดเป็น ตัดสินใจเป็น กล้าลงมือปฏิบัติ และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ที่รากฐานที่สำคัญของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่


นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนปรารถนาไม่ใช่หรือ!

ที่มา : http://www.thisisfamily.org//

การสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์ คือการคุยอย่างมีจุดมุ่งหมาย  ซึ่งนิยมใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะด้านความรู้สึกเป็นส่วนใหญ่  เช่น  เกี่ยวกับบุคลิกภาพ  การปรับตัว  เจตคติ  ความสนใจ  รวมทั้งคุณลักษณะเกี่ยวกับการปฏิบัติในด้านวิธีการปฏิบัติ  การใช้การสัมภาษณ์เพื่อวัดความสามารถในด้านความรู้ความคิดทางสติปัญญาก็สามารถใช้ได้  แต่ต้องระมัดระวังในกรณีที่ผู้ถูกสัมภาษณ์มีหลายคน  และใช้คำถามคนละชนิดคนละเรื่อง  ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการเปรียบเทียบคะแนน 

          ประเภทของการสัมภาษณ์ 

                  การสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          1. การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ  เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์ต้องเตรียมคำถามหรือแบบสัมภาษณ์ล่วงหน้าให้ครอบคลุมเนื้อหาหรือเรื่องราวที่ต้องการทราบจากผู้ถูกสัมภาษณ์ 
          2. การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ  เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์เตรียมแต่      จุดมุ่งหมายไว้แล้วใช้วิธีการสนทนาซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  โดยผู้สัมภาษณ์ต้องพยายามให้ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกว่ามีบรรยากาศที่เป็นกันเอง  และอาจมีการป้อนคำถามนำบ้าง 

          หลักเกณฑ์ในการสัมภาษณ์ 

          1. ผู้สัมภาษณ์ต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่าต้องการรู้สิ่งใดจากผู้ถูกสัมภาษณ์
          2. ผู้สัมภาษณ์ต้องเตรียมคำถามหรือคำสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องไว้ล่วงหน้า
          3. ผู้สัมภาษณ์ต้องสร้างความเป็นกันเองโดยการยิ้มแย้มแจ่มใสแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์
          4. ผู้สัมภาษณ์ควรรู้เรื่องที่ตนเองจะสัมภาษณ์เป็นอย่างดีเพื่อช่วยในการสรุปผล และช่วยในการตั้งคำถามเสริมระหว่างที่สัมภาษณ์
          5. ต้องมีการจดบันทึกผลการสัมภาษณ์อย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์หวาดระแวง
         
          ขั้นตอนของการสัมภาษณ์ 

                 การสัมภาษณ์มีขั้นตอนในการดำเนินการ 3 ขั้น ดังนี้

         1.  ขั้นเริ่มสัมภาษณ์  ผู้สัมภาษณ์ควรคำนึงถึงเทคนิคที่สำคัญ  ดังต่อไปนี้
              1.1 ผู้สัมภาษณ์จะต้องแนะนำตนเอง  บอกจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์  พร้อมทั้งพยายามชี้แนะให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เห็นว่าเขามีส่วนสำคัญมากในการที่จะทำให้งานเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างสมบูรณ์  และจะต้องชี้แจงแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วยว่า  ข้อมูลครั้งนี้ถือเป็นความลับ  และถ้าจะบันทึกเทปต้องแจ้งแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์ให้ทราบก่อนด้วย
              1.2 พยายามสร้างบรรยากาศ และสัมพันธภาพที่ดีในการสัมภาษณ์  โดยใช้เวลาเล็กน้อยสนทนาเรื่องที่ผู้ถูกสัมภาษณ์สนใจทั่ว ๆ ไปก่อน  เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความคุ้นเคย  มีความรู้สึกเป็นมิตร  และไว้วางใจผู้สัมภาษณ์
          2.  ขั้นสัมภาษณ์เนื้อหา  ผู้สัมภาษณ์ควรคำนึงถึงเทคนิค  ดังต่อไปนี้
              2.1 คำถามควรสั้นกะทัดรัด  และปล่อยให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดอย่างเสรีเพื่อที่เขาจะได้รู้สึกว่าเขามีอิสระที่จะพูดตามที่เขาคิด
              2.2 อย่าวิพากษ์วิจารณ์  หรือสั่งสอนผู้ให้สัมภาษณ์  เมื่อผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลหรือมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับที่สังคมยอมรับ
              2.3  อย่าใช้คำถามที่เป็นการชี้แนะคำตอบ
              2.4 ในระหว่างสัมภาษณ์  ผู้สัมภาษณ์ไม่ควรจะเร่งรัด  หรือคาดคั้นคำตอบจากผู้ให้สัมภาษณ์
              2.5 ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนหรือเป็นที่พอใจ  ถ้ายังไม่คุ้นเคยกันนักอาจจะผ่านไปก่อน เมื่อจบการสัมภาษณ์แล้วค่อยย้อนกลับมาถามใหม่ โดยกล่าวในเชิงทบทวนคำถาม  หรือทบทวนคำตอบแบบสุภาพ
        3. ขั้นยุติการสัมภาษณ์  ควรกล่าวคำขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการสัมภาษณ์

        การจดบันทึกคำตอบในแบบสัมภาษณ์ 

                 การจดบันทึกคำตอบในการสัมภาษณ์  มีแนวปฏิบัติดังนี้

        1.  ต้องจดบันทึกทันทีหลังจากการสัมภาษณ์แล้ว  เพื่อกันลืมหรือสับสน
        2. รายละเอียดที่จะบันทึก ได้แก่  ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์  ที่อยู่  วันที่สัมภาษณ์   ผลการสัมภาษณ์  ซึ่งประกอบด้วย  เรื่องที่สัมภาษณ์  คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์  ความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีต่อปัญหา  ข้อสังเกตที่ได้ในขณะสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ สรุปข้อเสนอแนะและสรุปผลการสัมภาษณ์
        3. ควรบันทึกแต่เนื้อหาสาระเท่านั้น ไม่ควรใส่ความคิดเห็นของผู้สัมภาษณ์เพราะอาจก่อให้เกิดความเอนเอียงได้
        4. ถ้าไม่ได้คำตอบในการสัมภาษณ์ในคำถามใดผู้สัมภาษณ์ควรจะบันทึกเหตุผลไว้ด้วย
         
          การสัมภาษณ์ในการเรียนการสอน 
                  
                  ในการเรียนการสอนสามารถนำการสัมภาษณ์ไปใช้ได้ 4 ลักษณะ  ดังนี้

            1. ใช้ในการทดสอบ  ในกรณีที่นักเรียนยังเขียนไม่เป็น  ครูอาจนำข้อสอบมาถามให้นักเรียนตอบด้วยวาจา  ก็ถือเป็นการสัมภาษณ์
            2. ใช้ประกอบการสังเกต  ถ้าครูใช้การสังเกตแล้วยังพบว่าได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนก็อาจจำเป็นต้องสัมภาษณ์เพิ่มเติม
            3. ใช้แทนการสังเกต  ในบางครั้งครูอาจไม่สามารถสังเกตนักเรียนได้ทั่วถึงทุกคน  ก็อาจใช้วิธีการซักถามจากเพื่อนครูคนอื่น  หรือบุคคลอื่นที่เชื่อถือได้ เพื่อนำข้อมูลมาตัดสิน
            4. ใช้การสัมภาษณ์ซักถามนักเรียนโดยตรงเพื่อหาข้อเท็จจริง การสัมภาษณ์ควรจะมีแบบบันทึกการสัมภาษณ์ด้วย  เพื่อจะได้ทำให้เกิดความสะดวกในการบันทึก 

            การใช้การสัมภาษณ์ 

                   การสัมภาษณ์มีลักษณะเหมือนการสอบปากเปล่า โดยใช้ประสาทสัมผัสเป็นสื่อ  ซึ่งจะต้องระมัดระวัง ดังนี้

            1. ผลของการสัมภาษณ์ขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้สัมภาษณ์  วิธีการ  และคำถามที่จะใช้  ผู้สัมภาษณ์จึงควรมีลักษณะดังนี้
                1.1  มีการเตรียมตัวให้พร้อม คำพูด  ท่าทาง  ต้องเหมาะสมถูกกาลเทศะ
                1.2  มีความคล่องแคล่วในการใช้คำถาม  และการสรุปผล
                1.3  มีการกระตุ้นเตือนในการใช้คำถามยั่วยุให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบคำถาม แต่ไม่ใช้คำพูดแบบตีโวหารหรือเล่นสำนวน
                1.4  พยายามถามเรื่องที่ผู้ถูกสัมภาษณ์อยากตอบ  และไม่ถามเชิงแนะคำตอบ
           2. ผู้ถูกสัมภาษณ์จะให้ข้อเท็จจริงและรายละเอียดมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความร่วมมือเป็นสำคัญ  ดังนั้นผู้สัมภาษณ์ควรปฏิบัติต่อผู้ถูกสัมภาษณ์  ดังนี้
               2.1  สร้างความเป็นกันเองเพื่อไม่ให้รู้สึกอึดอัด มีอิสระในการตอบ
               2.2  ให้ความสนใจ และความจริงใจ
               2.3 ไม่ควรถามในเรื่องที่ทำให้เสียศักดิ์ศรีหรือเป็นจุดบกพร่องที่รุนแรงของผู้ถูกสัมภาษณ์
          3. ควรมีการติดต่อนัดหมายและแจ้งวัตถุประสงค์ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ทราบล่วงหน้า
          4. พยายามอย่าให้มีอคติทางอารมณ์เกิดขึ้นกับผู้สัมภาษณ์หรือผู้ถูกสัมภาษณ์
          5. ไม่ควรใช้เวลาสัมภาษณ์ติดต่อกันนานเกินไป

         ข้อดีของการสัมภาษณ์ 

         1. ใช้ได้กับคนทุกเพศ  ทุกวัย  แม้ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก  หรือเขียนไม่ได้ก็สามารถให้ ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ได้
         2.  การสัมภาษณ์เป็นการสร้างความเป็นกันเองกับผู้สัมภาษณ์โดยตรง
         3.  ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถซักถามคำถามให้เข้าใจก่อนที่จะตอบได้
         4.  ข้อมูลที่ได้มีความเชื่อถือได้มากกว่าแบบสอบถาม
         5.  ผู้ถูกสัมภาษณ์มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและซักถามเมื่อไม่เข้าใจได้
         6.  ผู้สัมภาษณ์สามารถอ่านความรู้สึกนึกคิดของผู้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องต่าง ๆ ได้

         ข้อเสียของการสัมภาษณ์ 

         1.  ข้อมูลที่ได้ขึ้นอยู่กับผู้สัมภาษณ์โดยตรงได้แก่คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์ เช่น  บุคลิกภาพ  มนุษยสัมพันธ์  ไหวพริบ  การตัดสินใจ  เป็นต้น
         2. อารมณ์ของผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์  มีผลต่อความเที่ยงตรงของข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
         3.  การสัมภาษณ์ต้องใช้เวลามากเพราะต้องสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล
         4. ข้อมูลที่ได้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  เช่น  สภาพอากาศ  แสง  เสียงรบกวน  เป็นต้น


ที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit5/level5-4.html