วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

องค์ประกอบสารสนเทศ

    1.   ฮาร์ดแวร์
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมาส์
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น  3 หน่วย คือ
  •         หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
  •         หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
  •         หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์


2 . ซอฟต์แวร์

       ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้      ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น

 ซอฟต์แวร์ คือ  ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น

1.      ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์

2.      ซอฟต์แวร์ประยุกต์  คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น     ซอฟต์แวร์กราฟิก     ซอฟต์แวร์ประมวลคำ    ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน      ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล 


3. ข้อมูล

     ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

4. บุคลากร

          บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

          ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน

ที่มา : https://sites.google.com/site/mju5303103351cs203/xngkh-prakxb-khxng-rabb-sarsnthes-prakxb-dwy-xari-bang-cng-xthibay


วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่าย

ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          ความหมาย ระบบการโอนถ่ายข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทางโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ดาวเทียม ควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

องค์ประกอบระบบสื่อสารข้อมูล
สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
1.ข่าวสาร (Message) เป็นข้อมูลรูปแบบต่างๆ
2.ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
3.สื่อหรือตัวกลาง (Media) เป็นสื่อหรือช่องทาง ที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
4.ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
5.กฎ ข้อตกลง ระเบียบวิธีการรับส่ง(protocol)

สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูล
สำหรับคอมพิวเตอร์

1.สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
     1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) มี 2 ชนิด คือ
     – สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)

     – สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair : STP)

     1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูล
              เป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะ
หรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน

     1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล
ในรูปแบบของแสง

2.สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
      2.1 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง
ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร

     2.2 ดาวเทียม (Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานี
ภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม

     2.3 แอคเซสพอยต์ (Access Point)

ความหมายเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resources Sharing) หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน

2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

3. สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)

4. สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ

5. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)



ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)

2. เครือข่ายเมือง  (Metropolises Area Network :MAN)

3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)

4. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)



รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย
 network topology

      1.การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (bus network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้

      2. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (ring network) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้

      3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network)  เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องไปยังฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน

      4. เครือข่ายแบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกัน

อุปกรณ์เครือข่าย

1. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลังการรับส่งและไม่มีการใช้ซอฟแวร์ใด ๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งทำได้ง่าย

2. โมเด็ม (modem) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อก(Analog signal)ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก

3. การ์ด LAN (Network Interface Card – NIC) เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN

4. สวิตช์ (Switching) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่ายคล้ายHubแต่ต่างกันในเรื่องของกรทำงานและความเร็ว คือ แต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว

5. เราท์เตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายหลายเครือข่ายที่มีขนาดต่างกันหรือใช้มาตรฐานการส่งผ่านข้อมูล (Transmission) ต่างกันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้



โปรโตคอล (Protocol)

     โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูล
ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลชนิดเดียวกัน
ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้เหมือนกับมนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกัน
ในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันนั่น
องค์กรที่เกี่ยวข้องได้กำหนดโปรโตคอลที่เรียกว่า
มาตรฐานการจัดการระบบการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างระบบเปิด
(Open System International :OSI)

ชนิดของโปรโตคอล

1.ทีซีพีหรือไอพี (TCP/IP)
2.เอฟทีพี (FTP)
3.เอชทีทีพี (HTTP)
4.เอสเอ็มทีพี (SMTP)
5.พีโอพีทรี (POP3)

การถ่ายโอนข้อมูล
       1.การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน (Parallel transmission)
ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต
       2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial transmission)  อาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ
                1) สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
                2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
                3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น



ที่มา : https://amata20120813914194.wordpress.com

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การถ่ายวิดิโอ ปรับแต่ง และอัปโหลดขึ้น Youtube

|เทคนิคการถ่ายคลิปวีดีโอและการบันทึกลงคอมพิวเตอร์|


โดยน้องจอย



1.
ถ่ายคลิปวิดีโอ


     -
เราสามารถใช้กล้องถ่ายวีดีโอแบบดิจิตอล หรือถ้าไม่มีก็อาจจะใช้กล้องถ่ายรูปดิจิตอลทั่วไปทดแทนได้ โดยปรับกล้องไปที่โหมดถ่ายวีดีโอ (อาจศึกษาจากคู่มือของกล้อง)

     -
การถ่ายวีดีโอนั้น ค่อนข้างจะยากกว่าการถ่ายภาพธรรมดาซักเล็กน้อย ซึ่งกล้องถ่ายรูปก็แค่เล็งกล้อง แล้วกดชัตเตอร์ได้เลย แต่การถ่ายวีดีโอนั้นก่อนอื่นเราต้องรู้วัตถุประสงค์ก่อน ว่าเราต้องการจะถ่ายอะไร เช่น ถ่ายความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อโปรโมท หรือถ่ายบรรยากาศในงานเลี้ยงวันเกิดเพื่อเก็บไว้ดูในหมู่เพื่อนฝูง หรือถ่ายวีดีโอการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อการค้า เป็นต้น แล้วให้ให้ดีอาจจะมีการวางแผนล่วงหน้าว่าเราจะให้เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างไรด้วยก็ได้

-
สำหรับการถ่ายวิดีโอด้วยกล้องดิจิตอลนั้น การใช้งานโดยทั่วๆ ไป จะกดปุ่มชัตเตอร์ 1 ครั้งเพื่อบันทึก  โดยสามารถกดครึ่งก่อนเพื่อหาระยะโฟกัสได้เหมือนการถ่ายรูปปรกติ จากนั้นพยายามถือกล้องให้มือนิ่งที่สุดหรืออาจใช้ขาตั้ง  หรือวางบนโต๊ะเก้าอื้ช่วยให้นิ่ง  เพื่อให้คนดู ดูแล้วภาพไม่สั่น ไม่เวียนหัว ซึ่งเป็นสิ่งที่คัญมาก และเราอาจจะพูดสดเพื่ออัดเสียงลงไปเลยในขั้นตอนนี้ก็ได้   จากนั้นกดปุ่มชัตเตอร์ซ้ำอีกครั้งเมื่อต้องการหยุดบันทึก


2.
ดาวน์โหลดลงคอมพิวเตอร์

     ต่อสาย USB ของวีดีโอเข้ากับคอมพิวเตอร์ หรือใช้อุปกรณ์ Card Reader ดาวน์โหลดไฟล์จากกล้องวีดีโอมาลงเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนการโหลดภาพถ่ายลงเครื่องคอมพิวเตอร์ตามปรกติ




3.
ทดลองเปิดไฟล์

     -
โดยการดับเบิลคลิกดูว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถเล่นไฟล์วีดีโอชนิดที่กล้องเราถ่ายมาได้หรือไม่
     -
ถ้าไม่ได้ จะต้องหาโปรแกรมที่อ่านไฟล์ได้หลายชนิดมาช่วย เช่น โปรแกรม K-Lite Codec Pack ซึ่งเป็น Freeware Download ได้ที่นี่
 http://www.free-codecs.com/download/K_lite_codec_pack.htm


| ตัดต่อและปรับแต่งคลิปวีดีโอด้วย Ulead VideoStudio11 |


โดย น้องจอย

     โปรแกรม Ulead VideoStudio11 มีคุณสมบัติเด่นๆ คือ สามารถตัดต่อ ใส่ภาพเพิ่ม ใส่ตัวอักษร ใส่ลายน้ำ เพิ่มเสียง ใส่เอ็ฟเฟ็ค และแปลงไฟล์ให้มีขนาดเล็กลงได้ โดยมีการใช้งานที่เรียกได้ว่าหมูมากๆ ไม่ซับซ้อนเหมือนโปรแกรมระดับมืออาชีพ โดยเราสามารถเลือกใช้งานเฉพาะบางขั้นตอนโดยข้ามบางขั้นตอนที่ไม่จำเป็นสำหรับงานของเราไปก็ได้


ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมตัดต่อคลิปวีดีโอ Ulead Video Studio 11 หลังติดตั้งโปรแกรมแล้ว มีดังนี้


1.
คลิกเปิดโปรแกรม แล้วเลือก VideoStudio Editor อันบนสุด แล้วรอโหลดโปรแกรม

2.
คลิก Capture ที่เมนูบาร์ด้านบน

      -
แด็กเมาท์เอาไฟล์วีดีโอวัตถุดิบที่เราถ่ายเก็บไว้ในเครื่อง ลากมาวางที่ด้านขวาของจอดำที่พรีวิวภาพ
      -
ถ้ามีหลายไฟล์ก็ลากเอามาวางไว้ให้หมด (ได้ทั้งไฟล์วีดีโอ ไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง หรือแม้แต่ Flash Animation)
      -
หรืออาจคลิกที่รูปกระเป๋าโฟลเดอร์ ใต้เมนู Title เพิ่มนำเข้าไฟล์วัตถุดิบต่างๆ ก็ได้
      -
คลิกที่ภาพย่อของไฟล์วีดีโอ ตอนนี้จะสามารถกดปุ่ม play ทดลองเล่นคลิปวัตถุดิบได้แล้ว




3.
คลิกปุ่ม Edit ที่เมนูบาร์ด้านบน

      -
คลิกลากไฟล์วีดีโอต่างๆ ที่นำเข้ามาแล้ว มาวางที่แถบฟิล์มด้านล่าง
      -
หน้านี้เราสามารถตัดต่อ Crop ตัดช่วงที่ไม่ต้องการออก โดยคลิกปุ่ม play แล้วกำหนดช่วงที่เรื่มตัดที่ปุ่มรูป [
และกำหนดช่วงสิ้นสุดการตัด ด้วยปุ่มรูป ] ซึ่งอยู่ที่ด้านล่างจอภาพทางขวามือ
(
ในรูปคืออยู่เยื้องมาทางขวาล่างของขาช้างของเล่น)
      -
ต่อคลิปหลายๆ คลิปเข้าด้วยกัน โดยเอามาวางเรียงกันไปเรื่อยๆ ที่ลากมาวางที่แถบฟิล์มด้านล่างของจอ


4.
คลิก Effect ที่เมนูบาร์ด้านบน
      -
คลิกลากเอฟเฟ็คมาใส่ระหว่างคลิป หรือระหว่างไฟล์ภาพที่นำมาใช่ประกอบกันเป็นวีดีโอ



5.
คลิก Overlay ที่เมนูบาร์ด้านบน
      -
กำหนดตำแหน่งการจัดวางตาม Time line ให้ถูกต้องแม่นยำ โดยในขั้นตอนนี้ เราสามารถทำให้คลิปสั้นลง หรือยาวขึ้น โดยลากความยาวของแต่ละคลิปเข้าออกได้ด้วย


6.
คลิก Title ที่เมนูบาร์ด้านบน
      -
ใส่ข้อความก่อนหรือหลังจากเล่นวีดีโอ โดยดับเบิ้ลคลิกที่จอพรีวิว
      -
สามารถเลือกลูกแบบและสีสันตัวอักษรได้ โดยคลิกรูปแบบข้างจอพรีวิว และยังเปลี่ยนฟอนต์และขนาด สี ตัวอักษรได้ด้วย
      -
อาจใส่เป็นตัวอักษรเพื่อเป็น WaterMark ในวีดีโอ โดยกำหนดให้ความยาวของการแสดงผลบน Timeline ยาวตั้งแต่ต้นจนจบ


7.
คลิก Audio ที่เมนูบาร์ด้านบน
      -
ใส่เสียงที่บันทึกไว้แล้ว หรืออัดเสียงสดโดยใช้ไมโคนโฟนที่ต่อกับคอม
      -
สามารถกำหนดเพื่อให้เสียงเฟสขึ้นเฟสลงตอนต้นและตอนปลายของคลิปวีดีโอได้ที่หน้านี้

8.
คลิก Share ที่เมนูบาร์ด้านบน
      -
สำหรับการนำไฟล์คลิปวีดีโอไปใช้บนเว็บ เราคงต้องการไฟล์ขนาดเล็กเพื่อให้อัพโหลดได้รวดเร็ว แต่ไม่สูญเสียรายละเอียดความคมชัดมากนัก
ดังนั้น ควรเลือกชนิดไฟล์แปลงออกมาตามนี้ Create Video File > MPEG-4 > iPod MPEG-4 (640X480) > ตั้งชื่อไฟล์คลิป.mp4 > Save


   
   - รอโปรแกรมรันไฟล์เอง และเมื่อรันเสร็จโปรแกรมจะแสดงผลให้เราดูทันที
      -
ได้ไฟล์คลิปวีดีโอเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่เลือกไว้ตอน Save ตามต้องการ



|วิธีอัพโหลดคลิปวีดีโอขึ้นเว็บไซต์ Youtube|

โดยน้องจอย



1. การอัพโหลดวีดีโอขึ้นไปบน Youtube นั้น ก่อนอื่นจะต้องสมัครเป็นสมาชิกกับเว็บไซต์ของ Youtube ก่อนค่ะ คลิกไปที่ http://www.youtube.com/create_account แล้วกรอกข้อมูลเพื่อสมัคร


2. เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่มสีเหลือง Upload ที่อยู่บริเวณมุมบนขวาของหน้าจอ เพื่อเริ่มอัพโหลดได้เลย
 upload-video-on-youtube

3. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับคลิปวีดีโอ เช่น ชื่อ รายละเอียด คำค้น หมวดหมู่วีดีโอ และรูปแบบการเผยแพร่ว่าต้องการเผยแพร่ต่อสาธารณะชน หรือเก็บไว้ดูเป็นการส่วนตัว

upload-video-on-youtube 

สุดท้าย เมื่อกรอกข้อมูลรายละเอียดทุกอย่างแล้ว ก็คลิก  Save Changes เพื่อให้ Youtube จัดเก็บวีดีโอของเราเข้าระบบเลยจ้า

youtube how to 


4. เลื่อนเมาส์มาวางที่ชื่อ account ของเราที่มุมบนขวา เลื่อนมาคลิกที่ My Videos เพื่อแสดงวีดีโอทั้งหมดของเรา


upload-video-on-youtube 
ในขั้นตอนนี้ ถ้าเราเปลี่ยนใจ ไม่อยากให้วีดีโอถูกแสดงบน Youtube ก็สามารถลบทิ้งได้ โดยคลิกที่ปุ่ม Delete ที่ด้านขวาล่างของแต่ละคลิปวีดีโอ


5. แต่ถ้าพอใจแล้ว คลิก play เพื่อรับชมผลการแสดงวีดีโอของเราบน Youtube

upload-video-on-youtube 

6. เราสามารถเอาลิงค์ไปโปรโมท ส่งอีเมล์เรียกเพื่อนๆ มาดูก็ได้ หรือจะเอาคลิปมาวางที่เว็บไซต์หรือ Blog ส่วนตัว ก็สามารถคัดลอกโค้ดมาจากด้านข้างของจอวีดีโอ และเลือกสีของแท็บเล่นวีดีโอ รวมทั้งขนาดหน้าต่างได้ด้วย

upload-video-on-youtube

ที่มา : http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=440:edit-with-ulead-videostudio11-&catid=69:experience-tourism-logistics&Itemid=85
          http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=439:capture-upload-your-video-on-youtube&catid=69:experience-tourism-logistics&Itemid=85
          http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=441:how-to-upload-video-on-youtube&catid=69:experience-tourism-logistics&Itemid=85